สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน)
วิธีลงทะเบียนอบรมออนไลน์

หลังล็อกอินเข้าสู่ระบบ ให้ทำการเลือกหลักสูตรที่ต้องการอมรมพร้อมใส่ข้อมูลการจอง

พิมพ์เอกสารการชำระเงิน และนำไปชำระที่เคาน์เตอร์ธนาคารกรุงไทยหรือใช้แอพพลิเคชั่นธนาคาร

เมื่อสถาบันได้รับการยืนยันจากธนาคาร จะทำการส่งหมายเลขที่นั่งให้ท่านทางอีเมล

ท่านสามารถล็อคอินกลับมาตรวจสอบข้อมูลหลังการชำระเงินแล้ว
รายละเอียด / สำรองที่นั่ง
HA609:
การบริหารระบบสารสนเทศในโรงพยาบาล (Hospital Information Management)
รุ่น 2
วันที่อบรม: 03 ก.ค. 2567    - ถึง -    05 ก.ค. 2567
ระยะเวลาการอบรม 3 วัน
จำนวนที่สามารถลงทะเบียน 80 คน
จำนวนคนจ่ายเงินแล้ว 29 คน
ค่าลงทะเบียน 4500 บาท
ลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่
03 เม.ย. 2567    - ถึง -    03 มิ.ย. 2567


ราคานี้รวม
ค่าเอกสาร
อาหารกลางวัน
ค่าอาหารว่าง

วิทยากร:
อ.โกเมธ นาควรรณกิจ, อ.อกนิษฐ์ ธีระอรรถ,
นพ.กิตติ โล่สุวรรณรักษ์
และภก.ภาสกร รัตนเดชสกุล




สถานที่อบรม:
สำหรับรายละเอียดสถานที่จัดอบรมโปรดอ่านในจดหมายตอบรับการอบรม

คุณสมบัติของผู้เข้าอบรม
1. คณะกรรมการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในโรงพยาบาล 2. ผู้ดูแลและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในโรงพยาบาล


วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เข้าอบรม
1. เข้าใจมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับ Information Management และสามารถประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการระบบสารสนเทศภายในโรงพยาบาล 2. สามารถวางแผนและดำเนินการพัฒนาระบบสารสนเทศภายในโรงพยาบาลให้สามารถ ตอบสนอง ความต้องการของผู้รับบริการและผู้ให้บริการได้อย่างเหมาะสม
3. สามารถบริหารจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้มีความพร้อมในการสนับสนุนข้อมูลสารสนเทศ
ในการให้บริการ บริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพในโรงพยาบาล 4. มีความรู้ความเข้าใจสามารถจัดการระบบความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศในโรงพยาบาลได้
อย่างเหมาะสม 5. เข้าใจแนวคิดและบทบัญญัติในการคุ้มครองข้อมูลกับสถานการณ์ที่เผชิญในภาคการดูแลสุขภาพ
6. เข้าใจข้อกำหนดในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล สามารถวางแผนและดำเนินการคุ้มครองข้อมูล ความถูกต้อง การจำกัด การเก็บรักษา สู่การประยุกต์ภายในโรงพยาบาลได้

เนื้อหา
1. แนวคิดการพัฒนาและมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศในโรงพยาบาล 2. การวิเคราะห์และจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาระบบสารสนเทศโรงพยาบาล
3. การพัฒนาระบบสารสนเทศในโรงพยาบาล (Hardware, Software, People ware, Data)
4. การวิเคราะห์และจัดการความเสี่ยงในระบบสารสนเทศ
5. การรวบรวม การจัดเก็บ และการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศ
6. การรักษาความปลอดภัยของระบบสารสนเทศ
7. ความรู้ความเข้าใจ PDPA
8. บทบัญญัติในการคุ้มครองข้อมูลกับสถานการณ์ที่เผชิญในภาคการดูแลสุขภาพ
9. PDPA ในมุมมองสถานพยาบาล
10. การกำหนด ออกแบบ การบริหารและการปฏิบัติการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และข้อกำหนดการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลในสถานพยาบาล