สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน)
วิธีลงทะเบียนอบรมออนไลน์

หลังล็อกอินเข้าสู่ระบบ ให้ทำการเลือกหลักสูตรที่ต้องการอมรมพร้อมใส่ข้อมูลการจอง

พิมพ์เอกสารการชำระเงิน และนำไปชำระที่เคาน์เตอร์ธนาคารกรุงไทยหรือใช้แอพพลิเคชั่นธนาคาร

เมื่อสถาบันได้รับการยืนยันจากธนาคาร จะทำการส่งหมายเลขที่นั่งให้ท่านทางอีเมล

ท่านสามารถล็อคอินกลับมาตรวจสอบข้อมูลหลังการชำระเงินแล้ว
รายละเอียด / สำรองที่นั่ง
EL019:
e-learning STEP 2 Medication Reconciliation
รุ่น 1
วันที่อบรม: 01 ต.ค. 2564    - ถึง -    30 ก.ย. 2565
ระยะเวลาการอบรม 365 วัน
จำนวนที่สามารถลงทะเบียน 1000 คน
จำนวนคนจ่ายเงินแล้ว 35 คน
ค่าลงทะเบียน 1399 บาท
ลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่
26 เม.ย. 2565    - ถึง -    30 ก.ย. 2565


ราคานี้รวม
อื่นๆ

วิทยากร:
ภญ.ผุสดี บัวทอง
ภญ.จารุณี วงศ์วัฒนาเสถียร



สถานที่อบรม:
https://halearningonline.ha.or.th/

ดาวน์โหลดจดหมายการอบรมได้ที่ www.ha.or.th/TH/FileDownload/จดหมายตอบรับการฝึกอบรม


เอกสารประกอบการอบรม
1. คู่มือการใช้งานเข้าเรียนบทเรียนออนไลน์ click here
2. จม.ตอบรับการอบรม click here
คุณสมบัติของผู้เข้าอบรม
• แพทย์ พยาบาล ผู้รับผิดชอบงานคุณภาพของโรงพยาบาล หรือบุคลากรที่มีประสบการณ์งานพัฒนาคุณภาพตามแนวทางของสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน)
• มีทักษะด้านคอมพิวเตอร์ในระดับที่สามารถใช้เพื่อการศึกษาบทเรียนออนไลน์ได้
• มีอีเมล์ address เป็นของตนเอง

สิ่งที่ผู้เข้าอบรมต้องเตรียมตัว
• อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ต้องเตรียมสำหรับเรียน ได้แก่ ระบบปฏิบัติการ : Windows 7 เป็นต้นไป, Windows XP คุณสมบัติเครื่อง: Intel Pentium 4 2.4GHz หรือดีกว่า, หน่วยความจำ 1G หรือดีกว่า บราวเซอร์: Internet Explorer 6 หรือดีกว่า (แนะนำ), Google Chrome, Safari อินเตอร์เน็ตที่ใช้ : ความเร็ว 1Mbps ขึ้นไป และมีโปรแกรม Adobe acrobat

วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เข้าอบรม
มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ Medication reconciliation

เนื้อหา
1. Medication Reconciliation
นิยาม ที่มา,ความสำคัญ เป้าหมายและประโยชน์ต่อความปลอดภัยด้านยา และการกำหนดกลุ่มผู้ป่วยเป้าหมายตามระยะการพัฒนา

2. องค์ประกอบ/ขั้นตอนสำคัญของ Medication Reconciliation มีอะไรบ้าง
(อ้างอิงมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ, Thailand Patient Safety Goal (SIMPLE), กรอบงานพื้นฐานระบบยา) มี 4 ส่วนสำคัญ คือ Verification, Clarification, Reconciliation, Transmission และการเชื่อมต่อกับ Discharge counselling

3. การออกแบบ การจัดเก็บ การบันทึกข้อมูลด้านยาที่ผู้ป่วยแต่ละรายใช้ในปัจจุบัน ก่อนมาโรงพยาบาล
(แบบบันทึก Medication reconciliation) เพื่อให้ได้ข้อมูลสำคัญ ครบถ้วน ประยุกต์ใช้ ทั้งการสั่งใช้ยาในระบบ Electronic และบันทึกเอกสาร

4. Medication Reconciliation ในแต่ละขั้นตอน
4.1 Verification ความสำคัญในการระบุ/การค้นหา รายการยาที่ผู้ป่วยแต่ละรายได้รับในปัจจุบันทั้งหมด การรวบรวมข้อมูลจากหลายแหล่ง และบทบาทสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง
4.2 Clarification ความสำคัญในการตรวจสอบความสมบูรณ์ ถูกต้อง ครบถ้วนของข้อมูลยาที่ใช้ พร้อมเหตุผล (ถ้ามี) และบทบาทสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง

5. Medication Reconciliation ในแต่ละขั้นตอน
5.3 Reconciliation ความสำคัญในการเปรียบเทียบรายการยาทั้งหมดที่ผู้ป่วยใช้ กับ รายการยาที่แพทย์สั่งใช้เมื่อรับไว้ในโรงพยาบาล การประสานแพทย์เพื่อการตัดสินใจหากพบปัญหา เมื่อมีการเปลี่ยนแปลง ระบุเหตุผล และบทบาทสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง
5.4 Transmission ความสำคัญในการส่งต่อข้อมูลไปยังทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการรักษา ทั้งในโรงพยาบาลและส่งต่อ รวมทั้งบทบาทสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง

6. ความสำคัญ และการเชื่อมโยงข้อมูล จาก Medication reconciliation สู่การทำ Discharged Counseling ของเภสัชกร

7. ประสบการณ์จากการนำ Medication reconciliation สู่การปฏิบัติในโรงพยาบาล ปัญหาที่อาจพบ และประโยชน์ที่ได้รับ

8. การวัดประสิทธิภาพ ประสิทธิผลของ Medication reconciliation เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพ/ระบบงานอย่างต่อเนื่อง

9. Pitfalls และประเด็นสำคัญที่พบจากการเยี่ยมสำรวจ, ข้อมูลที่ควรสรุปผลการพัฒนาด้าน Medication reconciliation ลงในแบบประเมิน SAR 2020 ของสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล

หมดเขตการรับสมัคร