สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน)
วิธีลงทะเบียนอบรมออนไลน์

หลังล็อกอินเข้าสู่ระบบ ให้ทำการเลือกหลักสูตรที่ต้องการอมรมพร้อมใส่ข้อมูลการจอง

พิมพ์เอกสารการชำระเงิน และนำไปชำระที่เคาน์เตอร์ธนาคารกรุงไทยหรือใช้แอพพลิเคชั่นธนาคาร

เมื่อสถาบันได้รับการยืนยันจากธนาคาร จะทำการส่งหมายเลขที่นั่งให้ท่านทางอีเมล

ท่านสามารถล็อคอินกลับมาตรวจสอบข้อมูลหลังการชำระเงินแล้ว
รายละเอียด / สำรองที่นั่ง
HA608:
Smart Quality Notetaker เทคนิคถอดบทเรียนการพัฒนาคุณภาพ ระหว่างวันที่ 23 เมษายน 2565 วันที่ 7 พฤษภาคม 2565 วันที่ 28 พฤษภาคม 2565 รุ่นที่ 1 ผ่านโปรแกรม Zoom
รุ่น 1
วันที่อบรม: 23 เม.ย. 2565    - ถึง -    23 เม.ย. 2565
ระยะเวลาการอบรม 3 วัน
จำนวนที่สามารถลงทะเบียน 80 คน
จำนวนคนจ่ายเงินแล้ว 27 คน
ค่าลงทะเบียน 4500 บาท
ลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่
01 ม.ค. 2565    - ถึง -    08 เม.ย. 2565


ราคานี้รวม
อื่นๆ

วิทยากร:
1. นพ.ทรนง พิลาลัย หัวหน้าสำนักพัฒนาองค์กร สรพ. 2. คุณจุฑาธิป อินทรเรืองศรี ผู้จัดการแผนกคุณภาพ โรงพยาบาลนมะรักษ์เฉพาะทางศัลยศาสตร์มะเร็ง ขนาดเล็ก
3. คุณสุทธิพงศ์ คงชุม นักวิชาการคอมพิวเตอร์ งานพัฒนาคุณภาพบริการ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
4. คุณสดศรี พูลผล หัวหน้างานพัฒนาคุณภาพงาน คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
5. คุณสงวน แก้วขาว เจ้าหน้าที่จัดการความรู้อาวุโส, สรพ.


Link จดหมายตอบรับ:
***ดาวน์โหลดจดหมายตอบรับการฝึกอบรม ได้ที่ www.ha.or.th/TH/FileDownload/จดหมายตอบรับการฝึกอบรม


สถานที่อบรม:
ผ่านโปรแกรม Zoom


เอกสารประกอบการอบรม
1. จดหมายตอบรับการอบรมหลักสูตร HA608 click here
คุณสมบัติของผู้เข้าอบรม
แพทย์ พบาบาล เภสัชกร รวมทั้งบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ที่เป็นสมาชิกทีมนำทางคลินิก PCT (ผู้เข้าอบรมควรสมัครเป็นทีม รพ.อย่างน้อย 3 ท่าน)

วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เข้าอบรม
1. เพิ่มพูนทักษะการถอดบทเรียนการพัฒนาคุณภาพ 6 ด้าน ได้แก่ ทักษะการฟังจับประเด็น ทักษะการคิดวิเคราะห์เชิงระบบ ทักษะการตั้งคำถาม ทักษะการบันทึกและภาษาศาสตร์ ทักษะการจัดการเอกสารดิจิทัล ทักษะการวางแผนและจัดการเวลา
2. มีความเข้าใจและสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการถอดบทเรียน ได้แก่ แนวคิดการพัฒนาคุณภาพพื้นฐาน การจัดการกระบวนการ การบันทึกและภาษาศาสตร์
3. มีทัศนคติที่ดีต่อการบันทึก และการถอดบทเรียนการพัฒนาคุณภาพ
4. สามารถสร้างผลงานถอดบทเรียนการพัฒนาคุณภาพของหน่วยงาน


เนื้อหา
1. เทคนิค 1 กระบวนการถอดบทเรียน 1.1. ทักษะการวางแผนและจัดการเวลา
1.2. แนวคิดพื้นฐานที่สำคัญของการพัฒนาคุณภาพ ได้แก่ 3P, 3C-PDSA, Model of Improvement
2. เทคนิค 2 การฟังให้เป็น จับประเด็นให้ได้ความ
2.1. ทักษะการฟังจับประเด็น
3. เทคนิค 3 การบันทึกสรุปให้เป็นเรื่อง
3.1. หลักการพื้นฐานด้านภาษาศาสตร์และวรรณศิลป์ที่จำเป็นสำหรับการถอดบทเรียน
3.2. ทักษะการบันทึกและภาษาศาสตร์
4. เทคนิค 4 การถอดบทเรียน CQI
4.1. ทักษะการคิดวิเคราะห์เชิงระบบ
4.2. หลักการถอดบทเรียนการพัฒนาคุณภาพ (Quality Improvement Work, CQI)
5. เทคนิค 5 การถอดกระบวนการ
5.1. หลักการพื้นฐานของการจัดการกระบวนการ (Process flow and Management)
6. เทคนิค 6 การจัดการเอกสารดิจิทัล
6.1. ทักษะการจัดการเอกสารดิจิทัล
7. เทคนิค 7 การตั้งคำถามให้ได้ความรู้
7.1. ทักษะการตั้งคำถาม
8. เทคนิค 8 การบันทึกด้านการคิดเป็นภาพ
9. เทคนิค 9 การจัดการความรู้
รูปแบบการจัดการเรียนรู้:
1. กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์โปรแกรม ZOOM จำนวน 3 ครั้ง (ครั้งละ 8 ชั่วโมง) โดยกระบวนการเรียนรู้แบบ AAR (Aim=เป้าหมาย/บรรยายชุดความรู้, Action=กิจกรรมฝึกปฏิบัติการ/อภิปรายกลุ่ม, Result=สรุปผลการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนเทคนิคร่วมกับวิทยากร)
1.1. ครั้งที่ 1 วันเสาร์ ที่ 23 เมษายน 2565 (เวลา 8.30-16.30 น.)
1.2. ครั้งที่ 2 วันเสาร์ ที่ 7 พฤษภาคม 2565 (เวลา 8.30-16.30 น.)
1.3. ครั้งที่ 3 วันเสาร์ ที่ 28 พฤษภาคม 2565 (เวลา 8.30-16.30 น.)
2. กิจกรรม Buddy Grop Call เพื่อส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ ติดตามความก้าวหน้า และโค้ชโดยวิทยากร ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มย่อย กลุ่มละไม่เกิน 10 คน โดยมีวิทยากรกลุ่มเป็นพี่เลี้ยง
2.1. ครั้งที่ 1 วันอังคาร ที่ 3 พฤษภาคม 2565 (เวลา 17.00-18.00 น.)
2.2. ครั้งที่ 2 วันอังคาร ที่ 17 พฤษภาคม 2565 (เวลา 17.00-18.00 น.)
3. กิจกรรมการเรียนรู้จากการปฏิบัติ (Assignment Learning)
3.1. Assignment Learning 1: ผลงานสรุปบทเรียนจากการประชุม 1 ชิ้นงาน
3.2. Assignment Learning 2: ผลงานถอดบทเรียนกระบวนการ 1 ชิ้นงาน
3.3. Assignment Learning 3: ผลงานถอดบทเรียน CQI ของหน่วยงาน 1 ชิ้นงาน
4. กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในเครือข่าย (Learning group): แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในกลุ่มผู้เข้าร่วมอบรม และวิทยากรพี่เลี้ยงประจำกลุ่มผู้เรียน ผ่านทาง Line group โดยสามารถสอบถามและแบ่งปันข้อมูลกับกลุ่มผู้เรียนและวิทยากร
5. การประเมินผลและประกาศนียบัตร (Evaluation & Certification) ประเมินผลจาก 3 องค์ประกอบ ได้แก่
5.1. จำนวนชั่วโมงการเข้าร่วมอบรม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
5.2. การประเมินผลทักษะการถอดบทเรียนการพัฒนาคุณภาพ 6 ด้าน ก่อนและหลังการฝึกอบรมด้วยตนเอง ได้แก่ ทักษะการฟังจับประเด็น ทักษะการคิดวิเคราะห์เชิงระบบ ทักษะการตั้งคำถาม ทักษะการบันทึกและภาษาศาสตร์ ทักษะการจัดการเอกสารดิจิทัล ทักษะการวางแผนและจัดการเวลา การประเมินทักษะ ความรู้ ทักษะและเจตคติ เปรียบเทียบก่อน - หลังการฝึกอบรม
5.3. การประเมินจากผลงานถอดบทเรียน CQI ของหน่วยงาน 1 ชิ้นงาน


หมดเขตการรับสมัคร